จังหวัดกระบี่

http://orchidlovelythai.siam2web.com/

 

จังหวัดกระบี่ 

ประวัติ
จังหวัดกระบี่ตั้งขึ้นในปลายรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ในอดีตเป็นเพียงแขวง
หนึ่งอยู่ในอำนาจการปกครองและบังคับบัญชาของเมืองนครศรีธรรมราช เรียกว่า “แขวงเมืองปกาสัย”  พระยาผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราชให้พระปลัดเมืองฯ  มาตั้งค่ายทำเพนียดจับช้างของท้องที่ตำบลปกาสัยและได้มีราษฎรจากเมืองนครศรีธรรมราช  อพยพมาตั้งหลักแหล่งทำมาหากินเพิ่มมากขึ้น พระปลัดเมืองฯ ได้ยกตำบลปกาสัยขึ้นเป็น“แขวงเมืองปกาสัย”  ขึ้นต่อเมืองนครศรีธรรมราชประมาณปี พ.ศ.2415 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองปกาสัย และทรงพระราชทานนามว่า “เมืองกระบี่” เมื่อได้ประกาศตั้งขึ้นเป็นเมืองแล้วโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งที่ทำการอยู่ที่ตำบลกระบี่ใหญ่ (บ้านตลาดเก่า) ในท้องที่อำเภอเมืองกระบี่ปัจจุบัน มีหลวงเทพเสนาเป็นเจ้าเมืองกระบี่คนแรก ต่อมาในปี พ.ศ.2418  ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แยกเมืองกระบี่ออกจากการปกครองของเมืองนครศรีธรรมราช เป็นเมืองจัตวาขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ และในปี 2443 สมัยพระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอซิมบี้   ณ  ระนอง) เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ตได้พิจารณาเห็นว่าศาลากลางจังหวัดที่บ้านตลาดเก่านั้นไม่สะดวกต่อการคมนาคม เพราะสมัยนั้นต้องอาศัยเรือเป็นพาหนะ จึงได้ย้ายที่ตั้งเมืองไปอยู่ตำบลปากน้ำ อยู่ใกล้ปากอ่าวเป็นร่องน้ำลึกเรือใหญ่สามารถเข้าเทียบท่าได้สะดวก เป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดจนถึงปัจจุบันนี้              
ความหมายของคำว่า “กระบี่”  มีตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า  ชาวบ้านได้ขุดกระบี่หรืออาวุธ โบราณใหญ่เล่มหนึ่ง นำมามอบให้กับเจ้าเมืองกระบี่ และต่อมาไม่นานก็ขุดพบกระบี่หรืออาวุธโบราณเล็ก      อีกเล่มหนึ่ง รูปร่างคล้ายกับกระบี่เล่มใหญ่ จึงนำมามอบให้กับเจ้าเมืองกระบี่เช่นกัน เจ้าเมืองกระบี่เห็นว่าเป็นอาวุธโบราณสมควรเก็บไว้เป็นกระบี่คู่บ้านคู่เมือง เพื่อเป็นสิริมงคล แต่ขณะนั้นยังสร้างเมืองไม่เสร็จ จึงได้นำกระบี่ไปเก็บไว้ในถ้ำเขาขนาบน้ำหน้าเมืองโดยวางไขว้กัน   ซึ่งลักษณะการวางกระบี่ดังกล่าว ก็ได้นำมาเป็นส่วนหนึ่งของสัญลักษณ์ตราประจำจังหวัด คือ “รูปกระบี่ไขว้เบื้องหลังมีภูเขา และทะเล” ซึ่งบ้านที่ขุดพบเล่มใหญ่ได้ตั้งชื่อว่า “บ้านกระบี่ใหญ่” และบ้านที่ขุดพบเล่มเล็กได้ตั้งชื่อว่า “บ้านกระบี่น้อย” แต่มีอีกตำนานหนึ่งสันนิษฐานว่า  “กระบี่” อาจเรียกชื่อตามพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่มีมากในท้องถิ่น คือต้น “หลุมพี”  จึงเรียกชื่อท้องถิ่นนี้ว่า “บ้านหลุมพี” มีชาวมลายูและชาวจีนที่เข้ามาค้าขายได้เรียกเพี้ยนเป็น  “กะ-ลู-บี”  หรือ  “คอโลบี” ต่อมาได้เพี้ยนเป็นสำเนียงไทยว่า “กระบี่

Advertising Zone    Close
Online: 1 Visits: 2,509 Today: 2 PageView/Month: 3

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...